ยินดีต้อนรับสู้เว็บบล็อกของพรเทพ สุขเกษม คัฟ

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ภาษีธรุกิจเฉพาะ

ซื้อรถยนต์ต้องเสียภาษีครับ ซื้อแล้วก็ยังต้องเสียภาษีป้าย ภาษีประจำปี และเวลาเอารถยนต์ที่ซื้อเสียภาษีมาไปวิ่งบนถนนก็ยังต้องเสียภาษีจากการเติมน้ำมันการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลไทย ได้รับการกล่าวขวัญว่าเฉพาะรถยนต์สั่งมาจากต่างประเทศนั้นเก็บแพงยับเยินถึงร้อยละ 300 รถยนต์ที่ซื้อขายกันในประเทศ มีราคาตกคันละ 35 ล้านบาทนั้น คิดราคารถจริงๆ แล้วก็ไม่ถึง 10 ล้านบาท ด้วยตรรกะนี้ โยมทั้งหลายไม่ควรสวดส่งบรรดามหาเศรษฐีที่ซื้อรถราคาแพงเลย ด้วยเพราะเหตุว่าเขาทั้งหลายเหล่านั้น (They) ได้ช่วยชาติไปส่วนหนึ่งแล้ว คือเสียภาษีขณะนี้มีรายงานข่าวที่น่าเชื่อได้ว่า กระทรวงการคลังกำลังสมคบกับกรมการขนส่งทางบก เพื่อพิจารณาปรับโครงสร้างจัดเก็บ
ภาษีใหม่ แพงกว่าเดิมประมาณสองเท่า โดยรถยนต์พื้นฐานทั่วไปก็จัดเก็บตามขนาดความจุกระบอกสูบรถ แต่รถที่ซื้อขายกันคันละ 3 ล้านบาทขึ้นไปนั้น จะจัดเก็บทั้งสองวิธี คือทั้งตามขนาด ซี.ซี. แล้วก็ยังเรียกเก็บตามราคาซื้อขายของรถด้วยรถนั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เดิมที 1-600 ซี.ซี. เก็บ 50 สตางค์ต่อ ซี.ซี. โดย 600-1,800 เก็บ 1.50 บาท และ 1,800 ซี.ซี.ขึ้นไป เก็บ 4 บาทต่อ ซี.ซี.โครงสร้างใหม่ไม่เกิน 600 ซี.ซี. เสียภาษี 2 บาท ต่อ ซี.ซี., 600-1,300 เสีย ซี.ซี.ละ 3 บาท, 1,300-1,800 เสีย 4 บาท, 1,800-2,000 เสีย 5 บาท, 2,000-2,400 เสีย 7 บาท, 2,400-3,000 เสีย 9 บาท และ 3,000 ขึ้นไป เสีย ซี.ซี.ละ 12 บาทแน่นอนครับ คิดบวกลบคูณหารแล้ว รัฐบาลจะได้เงินอีกหลายสตางค์เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ เดิมที ณ ปัจจุบันนี้รัฐเก็บภาษีได้ปีละ 8 พันล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นส่วนของรถไม่เกิน 7 ที่นั่งประมาณปีละ 2.5 พันล้านบาท สูตรใหม่รัฐจะได้เพิ่มไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาทในปีแรก (คิดเฉพาะรถใหม่)ผลที่ได้ถัดมา รัฐบาลก็มีชัยชนะเหนือเศรษฐีมีสตางค์ที่คิดอ่านซื้อรถแบบสั่งมาจากนอกหรือซื้อตามห้างที่สั่งมาจากนอก เพราะต้องเสียภาษีแพงขึ้นทุกระบบในแง่ความเป็นธรรมต่อสังคมส่วนรวม การจัดเก็บภาษีตามขนาด ซี.ซี. (ลูกบาศก์เซนติเมตร) รัฐถือว่าเป็นธรรมมาก ใครใช้รถที่มีกำลังเครื่องยนต์มากก็เท่ากับว่าทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากกว่าผู้ที่ใช้รถยนต์ขนาดเล็ก และรัฐยังคลุมถึงผู้ผลิตรถยนต์ ต่อไปก็ต้องคิดอ่านแต่ผลิตรถยนต์ขนาดเล็กออกมาจำหน่าย ไม่ต้องเปลืองพลังงานแห่งชาติ ลดปริมาณควันพิษ และรักษาสภาพแวดล้อมรถยนต์ในประเทศเคยขายได้อย่างสนุกสนานก่อนฟองสบู่แตก คือในปี 39 ขายได้ทั้งหมด 589,126 คัน เป็นยอดรถยนต์นั่ง 172,730 คัน พอถึงปี 41 เท่านั้น เหลือเพียง 145,065 คัน สำหรับยอดขายรถยนต์ทั้งหมด และเป็นส่วนของรถยนต์นั่งเพียง 46,300 คันเท่านั้น การปรับภาษีนั้น ผมคงไปห้ามอะไรรัฐไม่ได้ แต่การจัดเก็บภาษีรถยนต์นั้น รัฐบาลไม่เคยได้ประกาศ ออกมาให้เห็นชัดเจนแม้แต่สักครั้งเดียวว่า เก็บเอ็งไป 100 บาทเอาไปทำอะไร เพื่อให้เอ็งขับรถแบบ แฮปปี้ มอเตอริ่งมีถนนหนทางที่ราบเรียบไม่กระโดกกระเดก หรือซ่อมกันตลอดชาติ บังคับให้เอ็งเปลี่ยนช่องจราจรโดยกะทันหัน มีเครื่องหมายสัญญาณที่ชัดเจน ป้ายแสดงเส้นทางที่ใหญ่โตอ่านในระยะไกลเห็นถนัด มีเครื่องป้องกันอันตรายจากทางโค้งอันตราย ฯลฯเก็บภาษีทีไร รัฐบาลก็บอกเพียงแต่ว่าเอาไปพัฒนาประเทศ แบบนี้มัน Fair Play หรือเปล่า คะรับทั่น ?

ภาษีรถยนต์

ซื้อรถยนต์ต้องเสียภาษีครับ ซื้อแล้วก็ยังต้องเสียภาษีป้าย ภาษีประจำปี และเวลาเอารถยนต์ที่ซื้อเสียภาษีมาไปวิ่งบนถนนก็ยังต้องเสียภาษีจากการเติมน้ำมันการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลไทย ได้รับการกล่าวขวัญว่าเฉพาะรถยนต์สั่งมาจากต่างประเทศนั้นเก็บแพงยับเยินถึงร้อยละ 300 รถยนต์ที่ซื้อขายกันในประเทศ มีราคาตกคันละ 35 ล้านบาทนั้น คิดราคารถจริงๆ แล้วก็ไม่ถึง 10 ล้านบาท ด้วยตรรกะนี้ โยมทั้งหลายไม่ควรสวดส่งบรรดามหาเศรษฐีที่ซื้อรถราคาแพงเลย ด้วยเพราะเหตุว่าเขาทั้งหลายเหล่านั้น (They) ได้ช่วยชาติไปส่วนหนึ่งแล้ว คือเสียภาษีขณะนี้มีรายงานข่าวที่น่าเชื่อได้ว่า กระทรวงการคลังกำลังสมคบกับกรมการขนส่งทางบก เพื่อพิจารณาปรับโครงสร้างจัดเก็บภาษีใหม่ แพงกว่าเดิมประมาณสองเท่า โดยรถยนต์พื้นฐานทั่วไปก็จัดเก็บตามขนาดความจุกระบอกสูบรถ แต่รถที่ซื้อขายกันคันละ 3 ล้านบาทขึ้นไปนั้น จะจัดเก็บทั้งสองวิธี คือทั้งตามขนาด ซี.ซี. แล้วก็ยังเรียกเก็บตามราคาซื้อขายของรถด้วยรถนั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เดิมที 1-600 ซี.ซี. เก็บ 50 สตางค์ต่อ ซี.ซี. โดย 600-1,800 เก็บ 1.50 บาท และ 1,800 ซี.ซี.ขึ้นไป เก็บ 4 บาทต่อ ซี.ซี.โครงสร้างใหม่ไม่เกิน 600 ซี.ซี. เสียภาษี 2 บาท ต่อ ซี.ซี., 600-1,300 เสีย ซี.ซี.ละ 3 บาท, 1,300-1,800 เสีย 4 บาท, 1,800-2,000 เสีย 5 บาท, 2,000-2,400 เสีย 7 บาท, 2,400-3,000 เสีย 9 บาท และ 3,000 ขึ้นไป เสีย ซี.ซี.ละ 12 บาทแน่นอนครับ คิดบวกลบคูณหารแล้ว รัฐบาลจะได้เงินอีกหลายสตางค์เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ เดิมที ณ ปัจจุบันนี้รัฐเก็บภาษีได้ปีละ 8 พันล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นส่วนของรถไม่เกิน 7 ที่นั่งประมาณปีละ 2.5 พันล้านบาท สูตรใหม่รัฐจะได้เพิ่มไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาทในปีแรก (คิดเฉพาะรถใหม่)ผลที่ได้ถัดมา รัฐบาลก็มีชัยชนะเหนือเศรษฐีมีสตางค์ที่คิดอ่านซื้อรถแบบสั่งมาจากนอกหรือซื้อตามห้างที่สั่งมาจากนอก เพราะต้องเสียภาษีแพงขึ้นทุกระบบในแง่ความเป็นธรรมต่อสังคมส่วนรวม การจัดเก็บภาษีตามขนาด ซี.ซี. (ลูกบาศก์เซนติเมตร) รัฐถือว่าเป็นธรรมมาก ใครใช้รถที่มีกำลังเครื่องยนต์มากก็เท่ากับว่าทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากกว่าผู้ที่ใช้รถยนต์ขนาดเล็ก และรัฐยังคลุมถึงผู้ผลิตรถยนต์ ต่อไปก็ต้องคิดอ่านแต่ผลิตรถยนต์ขนาดเล็กออกมาจำหน่าย ไม่ต้องเปลืองพลังงานแห่งชาติ ลดปริมาณควันพิษ และรักษาสภาพแวดล้อมรถยนต์ในประเทศเคยขายได้อย่างสนุกสนานก่อนฟองสบู่แตก คือในปี 39 ขายได้ทั้งหมด 589,126 คัน เป็นยอดรถยนต์นั่ง 172,730 คัน พอถึงปี 41 เท่านั้น เหลือเพียง 145,065 คัน สำหรับยอดขายรถยนต์ทั้งหมด และเป็นส่วนของรถยนต์นั่งเพียง 46,300 คันเท่านั้น การปรับภาษีนั้น ผมคงไปห้ามอะไรรัฐไม่ได้ แต่การจัดเก็บภาษีรถยนต์นั้น รัฐบาลไม่เคยได้ประกาศ ออกมาให้เห็นชัดเจนแม้แต่สักครั้งเดียวว่า เก็บเอ็งไป 100 บาทเอาไปทำอะไร เพื่อให้เอ็งขับรถแบบ แฮปปี้ มอเตอริ่งมีถนนหนทางที่ราบเรียบไม่กระโดกกระเดก หรือซ่อมกันตลอดชาติ บังคับให้เอ็งเปลี่ยนช่องจราจรโดยกะทันหัน มีเครื่องหมายสัญญาณที่ชัดเจน ป้ายแสดงเส้นทางที่ใหญ่โตอ่านในระยะไกลเห็นถนัด มีเครื่องป้องกันอันตรายจากทางโค้งอันตราย ฯลฯเก็บภาษีทีไร รัฐบาลก็บอกเพียงแต่ว่าเอาไปพัฒนาประเทศ แบบนี้มัน Fair Play หรือเปล่า คะรับทั่น ?

ภาษีนิติบุคคล


ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ โดยลำดับดังนี้
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ
รอบระยะเวลาบัญชี
กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (รายจ่ายต้องห้าม)
อัตราภาษีและการคำนวณภาษี
การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี
ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการจำหน่ายกำไรไปนอกประเทศ
สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
บัญชีอัตราภาษี

ภาษีโรงเรือน

ภาษีโรงเรือน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น โรงเรือน หมายความถึง บ้าน ตึกแถว อาคาร ร้านค้า สำนักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน แฟลต อพาร์ทเมนท์ คอนโดมิเนียม หอพัก สนามม้า สนามมวย คลังสินค้า เรือนแพ ฯลฯ สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ หมายถึง สิ่งปลูกสร้างอื่น ที่ก่อสร้างติดที่ดินถาวร เช่น ท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ คานเรือ ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่ก่อสร้างติดที่ดินถาวร ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หมายถึง ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น และบริเวณต่อเนื่องซึ่งใช้ด้วยกันกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่ดิน หมายความรวมถึง ทางน้ำ บ่อน้ำ สระน้ำ ด้วย
ภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นภาษีอากรที่ราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2534 ในกรุงเทพมหานคร เทศบาลเมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำค่าภาษีไปชำระต่อพนักงานเก็บภาษี ณ สำนักงานเขตที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตั้งอยู่ เป็นต้น
แต่ก็มีข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา 9 ว่าทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
1.พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน
2.ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของรัฐบาล หรือสาธารณะ และทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการของการรถไฟฯ โดยตรง
3.ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะ และโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อผลกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการรักษาพยาบาลและการศึกษา
4.ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะศาสนกิจอย่างเดียว หรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์
5.โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปี และเจ้าของมิได้อยู่เอง หรือให้ผู้อื่นอยู่ นอกจากคนเฝ้าในโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หรือในที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกัน
6.โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เอง โดยมิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรมหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ และตามมาตรา 10 หากโรงเรียนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งเจ้าของที่มีชื่อในทะเบียนบ้านอยู่เอง หรือให้ผู้แทนเฝ้ารักษาและมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าหลังประกอบอุตสาหกรรม (เช่น หากเป็นบ้านอยู่เองแต่แบ่งเป็นห้องๆ ให้เช่าก็ต้องเสียภาษีด้วย เพราะทรัพย์สินคือโรงเรือนก่อให้เกิดรายได้ขึ้นมาแล้ว)
ดังนั้น หากเป็นบ้านที่ใช้อยู่อาศัยอย่างเดียวไม่ได้ใช้บ้านประกอบกิจการค้าขาย ไม่ได้ให้เช่า ก็ไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน แต่บ้านของนาตาลีมีกิจการค้าขาย มีรายได้ จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนตามกฎหมาย

ภาษีป้าย

ภาษีป้าย หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการ ประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือ เครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย คือ เจ้าของป้าย หรือผู้ครอบครองป้าย
ระยะเวลาการชำระภาษี คือ มกราคม - มีนาคม ของทุกปี
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย
1. ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษี ณ งานผลประโยชน์ ส่วน พัฒนารายได้ สำนักการคลัง เทศบาลนครเชียงราย ภายในเดือนมกราคม - มีนาคม ของทุกปี และต้องชำระภาษีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
2. ผู้ใดติดตั้งป้ายอันต้องเสียภาษีหลังเดือนมีนาคม หรือติดตั้งป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพอันเป็นเหตุให้เสียภาษีเพิ่มขึ้น ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในวันที่ 15 นับแต่วันที่ติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข
บทกำหนดโทษ
1. ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีก เลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ผู้ใดโดยรู้หรือจงใจแจ้งข้อความเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง 50,000 บาท
3. ผู้ใดไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย
4. ผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินภาษีป้ายลดน้อยลง ให้ เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม
ภาษีป้ายเป็นภาษีที่จัดเก็บจาก ป้าย อันหมายถึง ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือ เครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือ ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะได้แสดง หรือ โฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยตา อักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึก หรือ ทำให้ปรากฏ ด้วยวิธีอื่น ๆ
ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย ผู้เป็นเจ้าของป้ายจะต้องยื่น แบบ ภ.ป.1 ภายในเดือน มีนาคม ของทุกปี กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่จะต้องยื่นแบบ แบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งใหม่
การชำระเงินค่าภาษีป้าย
ผู้เป็นเจ้าของป้ายจะต้องชำระค่าภาษีป้ายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้แจ้งการประเมินหรือจะชำระค่าภาษีในวันที่ยื่นแบบเลยก็ได้ อัตราค่าภาษีป้าย
ป้ายประเภทที่ 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพและเครื่องหมายอื่นคิดอัตรา 20 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ 3 หมายถึง
ก ) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่
ข ) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศให้คิดในอัตรา 40 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายคนละ 200 บาท

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

ภาษีเงินบุคธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา..... คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย
ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ?
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง?
เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี?
ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นในระหว่างปีภาษีมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกกรณีหรือไม่?
เงินได้อันเป็นเหตุให้ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีมาจากแหล่งใดบ้าง?
ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร?
เงินได้พึงประเมินอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี?
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีจะต้องทำอย่างไร?
เงินได้พึงปรอะเมินแต่ละกรณีจะคำนวณหักค่าใช้จ่ายได้เท่าใด?
ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง?
ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไร และเมื่อใด?
ยื่นแบบแสดงรายการได้ที่ไหน?
การชำระภาษีด้วยวิธีใดบ้าง?
หากยื่นแบบแล้วมีภาษีต้องชำระจะขอผ่อนชำระภาษีได้หรือไม่
ถ้าไม่ชำระในกำหนดเวลาหรือชำระไม่ถูกต้องจะมีความรับผิดอย่างไรบ้าง?
บัญชีอัตราภาษี

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552

โคลงงานอาชีพตำรวจ

ลักษณะทั่วไปของอาชีพ
- สายสอบสวน มีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวน สอบสวน คดีอาญาที่เกิดภายในเขตพื้นที่ ที่รับผดชอบและการทำสำนวนคดีอาญา
- สายปราบปราม มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกัน และปราบปราม อาชญากรรมที่เกิดขึ้นภายในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ ทั้งนี้โดยยึดหลักข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทย 4 ประการ 1. รักษาความสงบเรียบร้อยทั้งภายในและภายนอกเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน 2. รักษากฎหมายที่เกี่ยวกับ การะกระทำผิดทางอาญา 3. บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ประชาชน 4. ดูแลรักษาผลประโยชน์ของสาธารณะ
คุณสมบัติ
1. บุคลิกภาพดี ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีนิสัยโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
2. พร้อมที่จะผจญภัยรักษาความยุติธรรม
3. ต้องมีความรักในอาชีพที่จะรับใช้และให้บริการแก่ประชาชน
โอกาสและความก้าวหน้า
- รับราชการในกรมตำรวจ เป็นนายตำรวจใจชั้นสัญญาบัตร ยังมีโอกาสเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งในระดับที่สูงยิ่งขึ้น ตามความสามารถและสายงานที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่อยู่และโอกาสในการศึกษาต่อมีทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ความต้องการของตลาดแรงงาน
- เป็นที่ทราบกันดีว่าตำรวจมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน เมื่อประชาชนเพิ่มมากขึ้นประเทศก็ต้องการตำรวจมากขึ้นเป็ฯเงาตามตัวเพื่อจะได้ให้ความดุแลป้องกันและปราบปรามภัยไม่ให้เกิดขึ้น จึงแสดงว่าอาชีพตำรวจยังเป็นที่ต้องการอยู่ต่อไป
แหล่งข้อมูล
กรมการจัดหางาน,งานแนะแนวจัดหางานและทุนการศึกษา,มหาวิทยาลัยรามคำแหง